ศิลปะลพบุรี

ศิลปะลพบุรี

ศิลปะลพบุรี ที่มาความสำคัญ ประวัติความเป็นมาของศิลปะยุคนี้

ศิลปะลพบุรี ในช่วงของศิลปะยุคนี้จะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ของทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่ง ศิลปะสมัยลพบุรี จะมีประติมากรรม และสถาปัตยกรรมในแบบหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับ ศิลปะในทางขอม ซึ่งศิลปะสกุลช่างในช่วง สมัย ลพบุรี นั้นจะเป็นผลงานศิลปะที่มีความเกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่เป็นลัทธิแบบมหายาน โดยศิลปะสมัยนี้ส่วนมากจะเป็นภาพจำหลักๆ คือศิลา และสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะการปั้นหล่อสัมฤทธิ์ที่มีความเจริญมาก และท่วงท่าทำนองในงานปั้นของสมัยลพบุรีช่างจะมีความชำนาญมากยิ่งนักจึงทำให้ กิริยาท่าทางไม่แข็งกร้าวเหมือนแบบศิลปะขอม และเหตุผลที่เรียกว่า ศิลปะลพบุรี นั้นคือเมืองลพบุรีนั้นเป็นเมืองที่สำคัญมาก่อนการเกิดของ กรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานที่สามารถบ่งบอกได้คือ โบราณวัตถุสถานในแบบของขอม และเขมรอย่างมากมาย และอีกเหตุผลคือ เมืองลพบุรีถูกหยิบยืมมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแบบก่อนของสยามที่ไม่ต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการเสนอชื่อ หรือคำเรียกใหม่อยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น ศิลปะเขมร, ศิลปะขอม ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย สมัยที่มีอิทธิพลเขมร โดยศิลปะที่มีแม่แบบจากเมืองพระนคร และศิลปะในลัทธิวัชรยานจากกัมพูชาเป็นต้น

แหล่งที่มาของรูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/ศิลปะลพบุรี

ประติมากรรมของศิลปะลพบุรี

ประติมากรรมสมัยลพบุรี โดยจะเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรีจะมีพื้นฐานที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมของเขมร ทั้งเทคนิคในการสร้าง และวัสดุหินทราย และรูปแบบของศิลปกรรมจะสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก จะมีการผสมระหว่างทวารวดีกับศิลปะของเขมร (ราวๆ กลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18) กลุ่มที่สอง จะมีรูปแบบที่สืบทอดมาจากศิลปะของเขมร (ราวๆ กลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19) และกลุ่มที่สาม คือกลุ่มที่พัฒนามาเป็นลักษณะของศิลปะท้องถิ่นอย่างแท้จริง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19) ซึ่งลักษณะของ พระพุทธรูปสมัยลพบุรี จะมีความรู้สึกที่เหมือนในสภาพที่มีอำนาจแบบเทพเจ้า หรือกษัตริย์มากกว่าที่จะเป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบของความหลุดพ้นตามความเชื่อ และความศรัทธาในคติมหายานแบบศรีวิชัยครั้งที่เป็นราชวงศ์ไศเลนทร์ก็เป็นไปได้ ที่นิยมการสร้างรูปพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์นางปัญญาบารมี และรูปเหวัชระสัตว์ โดยพระพุทธรูปส่วนใหญ่จะเป็นแบบนาคปรกปางสมาธิ ที่มีท่านั่งเหนือขนดนาคสามชั้น พระชงฆ์มีสันเล็กน้อย พระเศียรยังคงแสดงเครื่องทรง คือมงกุฏทรงสูงที่ทำเป็นชั้นๆ และแต่ละชั้นจะมีประดับลายกลีบบัว พระเนตรปิด และเหลือบลง รพโอษฐ์แบะกว้าง ขอบพระโอษฐ์หนา ทรงแบ้มพระโอษฐ์แบบบายน พระพุทธรูปสมัยลพบุรียังมีอิทธิพลไปยังกลุ่มของพระพุทธะรูปในสมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย

แหล่งที่มาของรูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

สถาปัตยกรรมของศิลปะลพบุรี

สถาปัตยกรรม สมัย ลพบุรี ถูกสร้างด้วยอิฐ และหิน มีทั้งที่สร้างในศาสนาพราหมฯ์ และศาสนาพุทธ ซึ่งลักษณะของสถาปัตยกรรมจะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมมียอดเป็นชั้นๆ ที่ทับซ้อนกันขึ้นไปจนเกิดเป็นรูปทรงที่แหลมมน และมุมของอาคารนี้จะมีการย่อมุม ลดมุมย่อเหลี่ยมซึ่งการทำเช่นนนี้จึงเรียกว่า ปรางค์ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของอินเดียวเรียกว่า ศิขร และการตกแต่งของสถาปัตยกรรมจะไม่นิยมเว้นพื้นที่ว่าง แต่จะมักแต่งลดลายดอกไม้ใบไม้ และลายประดิษฐ์ตามส่วนต่างๆ ของอาคาร ผังอาคารจะเป็นรูปแบบง่ายๆ เป็นแบบกากบาท และมักจะมีการสร้างระเบียงคดล้อมรอบ พุทธสถานที่มีความสำคัญมักจะถูกสร้างในพุทธศตวรรษที่ 17-18 อาทิเช่น พระปรางค์สามยอด ปราสาทหินพิมาย และ ปราสาทเมืองสิงห์ เป็นต้น โดยแผนผังของสถาปัตยกรรมของศิลปะลพบุรีนั้นได้กลายมาเป็นต้นแบบของการวางแผนผังวัดในสมัยสุโขทัย และอยุธยา ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือแผนผังของกลุ่มวัดที่มีขนาดใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั่นเอง

สรุป

ศิลปะของยุคสมัยลพบุรีนั้น จะมีความแตกต่างทางด้านของรูปแบบศิลปะที่มีนัยยะสำคัญไปจาก ศิลปะขอม เพราะสิ่งที่ทำให้ศิลปะทั้งสองยุคนั้นต้องแยกออกจากกันเป็นคนละสกุลช่างนั้น ก็เกิดจากการปฏิบัติการของอำนาจซะมากกว่า ศิลปะลพบุรี เกิดจากการปฏิบัติการของอำนาจรัฐสยาม โดยในขณะที่ ศิลปะขอมนั้น จะเกิดจากปฏิบัติการของอำนาจฝรั่งเศษ โดยทั้งสองศิลปะนี้เกิดจากการปฏิบัติการของอำนาจที่มีความคิดทางอาณานิคมเท่านั้นเอง

ติดตามยุคของศิลปะอื่นๆ ได้ที่ : ศิลปะเชียงแสน

อ่านบทความเกี่ยวกับศิลปะเพิ่มเติมได้ที่ : https://artisworlds.com/